การออกแบบติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัส (Tactile Surface)

 พื้นผิวต่างสัมผัส (Tactile Surface) 

พื้นผิวต่างสัมผัส คือ พื้นผิวที่มีสัมผัสและสีซึ่งมีความแตกต่างไปจากพื้นผิวและสีในบริเวณข้างเคียง รูปแบบอาจจะเป็นพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดแผ่นกระเบื้อง หรือพื้นทรายล้างที่มีพื้นผิวและสีแตกต่างจากพื้นบริเวณข้างเคียงก็ได้ โดยทั่วไปเราจะพบเห็นพื้นผิวต่างสัมผัส 2 ชนิดคือ 

 

ก. พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน (Warning Tactile/Block) 

 

 

ข.พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดนำทาง (Guiding Tactile/Block) 

 

 

เพิ่มเติม หรือ สำหรับบางประเทศซึ่งอาจมีการใช้งาน Postional Tactile สำหรับการจุดแจ้งเปลี่ยนทิศทางการเดิน ตามรูป ค.

 

ค. พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเปลี่ยนทิศทาง (Positional Tactile/Block) 

 

 

 

การติดตั้ง Tactiles Surface  

 ก.พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน (Warning Tactile/ Block) ให้มีพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือนในบริเวณพื้นที่ดังต่อไปนี้ 

    พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน กว้าง 30 เซนติเมตร ความยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของช่องทางเดินของพื้นที่ต่างระดับ ทางลาด บันได หรือ ประตู 

    ขอบของพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน อยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นของทางขึ้นหรือทางลงของพื้นต่างระดับ ทางลาด บันได หรือประตู 30-35 เซนติเมตร 

    ในกรณีของสถานีขนส่งมวลชน ให้ขอบนอกของพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือนอยู่ห่างจากขอบของชานชาลา ไม่น้อยกว่า 60-65 เซนติเมตร 

 

บริเวณพื้นที่ติดตั้ง 

  1. ทางขึ้น และ ทางลง ของทางลาด หรือ บันได 
  2. พื้นด้านหน้าและด้านหลังของ ประตู ทางเข้าอาคาร 
  3. พื้นด้านหน้าของประตูห้องน้ำ
  4. พื้นที่หน้าประตูลิฟท์
  5. พื้นบริเวณทางออกฉุกเฉิน
  6. บริเวณที่เป็นทางแยกหรือทางเลี้ยวในอาคาร

 

  1. ทางขึ้น และ ทางลง ของทางลาด หรือ บันได

 

ทางขึ้น และ ทางลง ของทางลาด

 

 

 ทางขึ้น และ ทางลง ของบันได

 

 

 

             2. พื้นด้านหน้าและด้านหลังของ ประตู ทางเข้าอาคาร 

 

 

              

 

              3. พื้นด้านหน้าของประตูห้องน้ำ

 

                         

        

               4. พื้นที่หน้าประตูลิฟท์

 

 

 

 

 

               5.  พื้นบริเวณทางออกฉุกเฉิน

 

 

 

 

               6. บริเวณที่เป็นทางแยกหรือทางเลี้ยวในอาคาร

 

   

 

 

ข.พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดนำทาง (Guiding Tactile/Block) ให้มีพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดนำทางในบริเวณพื้นที่ดังต่อไปนี้ 

ควรใช้สำหรับนำทางคนพิการทางการเห็นไปสู่จุดหมายที่สำคัญในพื้นที่ เช่น บริเวณพื้นที่หรือโถงอาคารที่กว้างๆ ไม่สามารถใช้ปลายไม้เท้าขาวแตะขอบผนังอาคารได้ การติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดนำทางนี้ ใช้ควบคู่กับพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน โดยจะนำทางไปสู่ป้ายให้ข้อมูล เช่นแผนผังต่างสัมผัส หรือ จุดบริการข้อมูล 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 77,898