การออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD)

  

 

ข้อมูลการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทุกคนในสังคม

 

“ อารยสถาปัตย์ คือ ความเสมอภาค ไม่ใช่ความสงสาร ”

หลักการออกแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) เป็นการออกแบบเพื่อคนทุกคน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการต่างๆ และผลิตภัณฑ์ ให้สามารถรองรับสำหรับคนทุกคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างจากบุคคลทั่วไปด้วยข้อจำกัดทางร่างกาย

หัวใจสำคัญของการออกแบบคือ ความสะดวก ปลอดภัย เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม

จากเอกสาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

" สิ่งอำนวยความสะดวก " 

หมายถึง เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ที่ก่อสร้างหรือติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงบ้านเรือน เพื่อช่วยสนับสนุนให้ทุกคนในสังคมสามารถดำเนินชีวิตด้วยความสะดวกสบายทั้งยังเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้อีกด้วย โดยเฉพาะคนพิการและผู้สุงอายุจะเป็นกลุ่มบุคคลที่จำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งอำนวจความสะดวกอย่างมาก เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนคนทั่วไป การมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาจึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง 

ทว่าผู้ที่ต้องพึ่งพิงสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุดกลับใช้งานได้คุ้มค่าน้อยที่สุดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่นการออกแบบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ เช่นประตูที่มีขนาดเล็กจนเก้าอี้เข็นคนพิการเข้าไม่ได้ หรือไม่มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในห้องน้ำหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ปัญหาดังกล่าวจึงส่งผลให้คนพิการไม่ได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต หรือปฎบิบัติกิจวัตรประจำวันได้เช่นเดียวกับผู้อื่น

 

 

ประโยชน์นานับประการของ Universal Design  

ประโยชน์สำหรับทุกคนในสังคม

  • การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
  • เสริมสร้างความปลอดภัยและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
 

ประโยชน์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ 

  • สามารถพึ่งพาตนเองได้
  • มีความภาคภูมิใจในความสามารถของตน
  • จิตใจเข้มแข็ง พร้อมเผชิญหน้ากับอุปสรรคทั้งปวง
 

ด้านทัศนียภาพ

  • จัดระเบียบบ้านเมืองให้มีความเรียบร้อยสวยงาม
 

สภาพการณ์ในอนาคตอันใกล้

  • คนพิการและผู้สูงอายุจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
  • สังคมมีความเสมอภาพเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งแยก

 

จากเอกสาร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อคนทุกคนในสังคม สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร

 

 

ประกาศกฎกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรื่อง

ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555

 

การแบ่งประเภทความพิการและหลักเกณฑ์ความพิการ 7 ประเภท ดังนี้ :

1.ความพิการทางการเห็น ได้แก่

1.1 ตาบอด (แบ่งตามระดับการตรวจวัด)

1.2 ตาเห็นเลือนราง (แบ่งตามระดับการตรวจวัด)

 

2.ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่

2.1 หูหนวก มีความบกพร่องทางการได้ยิน จนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน (แบ่งตามระดับการตรวจวัด)

2.2 หูตึง มีความบกพร่องทางการได้ยิน(แบ่งตามระดับการตรวจวัด)

2.3 ความพิการทางการสื่อความหมาย เช่นพูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ

 

3.ความพิการทางการเคลื่อนไวหรือทางร่างกาย ได้แก่

3.1 ความพิการทางการเคลื่อนไหว เช่น มือ เท้า แขน ขา อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง แขน-ขาขาด

3.2 ความพิการทางร่างกาย เช่น ความผิดปรกติของศรีษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกชัดเจน

 

4.ความพิการทางการจิตใจ หรือ พฤติกรรม ได้แก่

บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฎบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด 

 

5.ความพิการสติปัญญา ได้แก่

บุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าปรกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปรกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี

 

6.ความพิการทางการเรียนรู้ ได้แก่

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการอ่าน เขียน การคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา

 

7.ความพิการทางออทิสติก ได้แก่

บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์

โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปรกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่นๆ

 

 

หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design

Universal Design เป็นแนวความคิดสากลที่องค์การสหประชาชาติได้พยายามเผยแพร่และส่งเสริม จากแนวความคิดเดิมเพื่อให้คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อมตามโครงการ Promotion of Non-Handicapping Physical Environment for Disabled Persons และได้มีการพัฒนา ตามลำดับ เป็น Accessible Design, Adaptable Design,Barrier Free Design,Design for all และ Inclusive Design ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหลักการของ Universal Design ซึ่งประกอบด้วย หลัก 7 ประการได้แก่

 

จากเอกสาร เรื่องน่ารู้ ยูดี (UD) … สำหรับสถาปนิคและผู้สนใจ

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หน่วยปฎิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

 

 

 กฎหมายที่เกียวข้อง

 

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 
จัดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับให้คนพิการเข้าถึงได้
 

1. หน่วยงานราชการ 

ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต/ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด/ส่วนตำบล/สำนักงานเทศบาลนคร/เมือง/ตำบล และเมืองพัทยา) สถาบันการศึกษา และสถานีตำรวจ 

สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน 5 ประการ คือ                                            

     1. ทางลาด

     2. ห้องน้ำ

     3. ที่จอดรถ

     4. ป้ายและสัญลักษณ์

     5. บริการข้อมูล

2. หน่วยบริการเพื่อการท่องเที่ยว/บันเทิง

3. ที่พักอาศัยรวม

4. อาคารหรือสถานที่อื่นๆ

5. โรงพยาบาล

จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548

จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายและสัญลักษณ์ และบริการข้อมูล ให้สำเร็จภายในปี 2554

 

 

 

 

กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร
สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548
 
1.ที่จอดรถ
2.ทางลาด
3.ป้ายสัญลักษณ์
4.ห้องน้ำ
5.ลิฟท์โดยสาร
6.บันได
7.ราวจับ
8.ประตู
9.ทางสัญจรระหว่างอาคาร และทางเชื่อมระหว่างอาคาร
10.พื้นผิวต่างสัมผัส 
11.โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุม
 
หมายเหตุ : สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารตามกฎกระทรวงนี้มีทั้งสิ้น 11 ข้อ คือเป็นรายการในกลุ่มสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน 4 ข้อ (ไม่รวม บริการข้อมูล ข้อ 5 ) โดยได้เพิ่มเติมรายการ ข้อ 5-11 
 
: โรงพยาบาลให้จัดทำ ครบถ้วน ตามกฎทรวงฯ พ.ศ. 2548
 

จากเอกสาร เรื่องน่ารู้ ยูดี (UD) … สำหรับสถาปนิคและผู้สนใจ

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หน่วยปฎิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555

 
1.ที่นั่งสำหรับคนพิการหรือพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นคนพิการ                                                      

13.ห้องน้ำสำหรับคนพิการ 

2.ทางลาด

14.ลิฟต์สำหรับคนพิการ 

 
3.พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการทางการเห็น
 

15.ที่จอดรถสำหรับคนพิการ

 
4.บันไดเลื่อนสำหรับคนพิการ
 

16. สัญญาณเสียงและสัญญาณแสงขอความช่วยเหลือสำหรับคนพิการ

 
5.ทางลาดเลื่อนหรือทางเลื่อนในแนวราบ
 

17. ป้ายแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

 
6.ราวกันตกหรือผนังกันตก  
 

18. ทางสัญจรสำหรับคนพิการ

7.ถังขยะแบบยกเคลื่อนที่ได้                        

19. ไปรษณีย์สำหรับคนพิการ

8.สถานที่ติดต่อหรือประชาสัมพันธ์สำหรับคนพิการ            

20. พื้นที่สำหรับหนีภัยของคนพิการ

 
9.โทรศัพท์สาธารณะสำหรับคนพิการ
 
21. การประกาศเตือนภัยสำหรับคนพิการทางการเห็น และตัวอักษรไฟวิ่งหรือสัญญาณไฟเตือนภัยสำหรับคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 
 
10.จุดบริการน้ำดื่มสำหรับคนพิการ
 
22. การประกาศข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนพิการทางการเห็น และตัวอักษรไฟวิ่งหรือป้ายแสดงความหมายสำหรับ คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย  
 
11.ตู้บริการเงินด่วนสำหรับคนพิการ
 
23. เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้บริการคนพิการ 
 
12.ประตูสำหรับคนพิการ
 
 

 

Visitors: 73,022